Thursday, August 8, 2013

การดุนลาย

ประวัติความเป็นมาของการดุนลาย
การดุนลายเป็นงานสร้างสรรค์เชิงช่างหัตถศิลป์ที่บรรจงสร้างลวดลายบนแผ่นโลหะและชิ้นงานและรูปทรงต่างๆ อย่างมีความประณีตสวยงามตั้งแต่สมัยพญามังรายเมื่อปีพ.ศ.1839 ได้สร้างความสัมพันธ์กับพุกามและเจรจาขอช่างฝีมืออันได้แก่ช่างทอง ช่างฆ้อง ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างเขิน เป็นต้น มายังเมืองเชียงใหม่เพื่อฝึกเป็นอาชีพเสริมให้กับชาวเมือง  ดังปรากฏหลักฐานจาก
ชาวบ้านภาคเหนือนิยมเรียกผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งว่าสล่า หรือช่าง “ตำนานราชวงศาเชียงใหม่” ความว่า “...ดังเจ้าอังวะพุกามนั้นก็เสงป่อง(ปรึกษาหารือ) โฟจา (เจรจา)กันและกัน เสงป่องกันแล้วยังช่างหล่อ ช่างตี ช่างฆ้องผู้ทรงสราด (ฉลาด) ทั้งหลายนาก็เลือกเองผู้อันช่างหล่อ ช่างตีตังหลายช่างตีฆ้อง 2 หัวทั้งลูกสิกลูกน้องทั้งมวล500ทั้งเครื่องพร้อมจักยืนถวายท้าวล้านนา
วันอาทิตย์ขึ้น 3 ค่ำเดือน 6 เหนือ พุทธศักราชปีมะโรงพระเจ้ากะวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ยกทัพมาจากเวียงป่าซางเข้ามาตั้งเมืองเชียงใหม่ซึ่งในขณะนั้นผู้คนในเมืองเชียงใหม่มีน้อยมาก เพราะถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเฉลยบ้าง หนีไปสงครามไปซ่อนตัวอยู่ในป่าดงบ้าง พระเจ้ากาวิละจึงเริ่มปรับปรุงบ้านเมืองและวัดวาอารามที่รกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมากโดยใช้นโยบาย “เก็บผักใส่ผ้า เก็บข้าใส่เมือง” ให้เจ้านายราชกุลลื้อ เมืองเขิน เชียงตุง เมืองยองมาตั้งแต่รกรากในเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูนซึ่งยังปรากฏชื่อเมืองในปัจจุบันนี้คือเมืองเล็นเมืองวะ เมืองขอน เมืองพยาก เมืองโก อยู่ในท้องที่อำเภอสันทรายเมืองลวงอยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด เมืองออน เมืองหลวย ในท้องที่อำเภอสันกำแพง เชียงแสน เชียงขาง ในอำเภอสารภี ทุ่งอ้อ ตองกาย อยู่ในอำเภอหางดง เมืองสด เมืองกาย เมืองมาง เมืองลัง เขินเงี้ยว วันลาย สะต๋อย อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ส่วนชาวยองอยู่ในท้องที่จังหวัดลำพูน
ต่อมาในสมัยพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกาเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2  ชาวบ้านบ้านวัวลายแขวงเมืองปั่นได้ถูกกวาดต้อนมาอีกครั้งหนึ่ง ดังความปรากฏในพงศาวดารโยนและตำนานราชวงศ์ปกรณ์ในเชียงใหม่ กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2361ปีขาล เจ้าช้างเผือกธรรมลังกาแต่งเจ้าสุวรรณคำมูล เป็นหลานคุมทหารจำนวน 1,000  ยกทัพไปตีพม่าตั้งทัพอยู่ปากน้ำแม่ปุ พม่าได้ถอยหนีไป เจ้าสุวรรณคำมูลและเจ้าแก้วเมืองมายกกองทัพข้ามฟากแม่น้ำคงคาไปฝั่งตะวันตกเข้าตีบ้านตองกาย บ้านวัวลาย แขวงเมืองปั่นกวาดต้อนครัวเชลยมาทางฝั่งตะวันออกข้ามแม่น้ำคงที่ท่าผาแดง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านท่าผาแดง จังหวัดตาก
เมื่อปี พ.ศ.2442 ปีมะแม เจ้าคำมูลเป็นแม่ทัพคุมทหารจำนวน 300 คน ข้ามแม่น้ำคงไปฟากตะวันตก เข้าตีเอาบ้านวัวลาย สะต๋อย สรอยไร๋ บ้านนาหย่าง ทุ้งอ้อ ได้หมื่นสาร วัวลายและเมียฟ้าคำเครื่อง กวาดเอาครอบครัวลูกบ้านชาวไพร่ลงใส่บ้านเมืองดังดั้งเมื่อชาววัวลายอพยพมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่  ได้ตั้งฐานบ้านเมืองรอบๆวันหมื่นสาร โดยมี ‘‘เจ้าขันแก้ววัวลาย’’ เป็นผู้นำชาวบ้านวัวลายเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวบ้าน เป็นผุ้นำที่ดี มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีวิชาในการตีกลองสบัดชัย การปั้นคนโท (น้ำต้น) และเจ้าขันแก้ววัวลาย ก็ได้ส่งชาวบ้านวัวรายไปเรียนรู้วิธีการตี (ต้อง) ขันเงินและการแกะสลักลวดลายต่างๆบนขันเงินในคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ต่อมาเจ้าขันแก้ววัวลายจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า ‘‘บ้านหมื่นสารวัวลาย’’ อันเนื่องมาจากชาวบ้านวัวลายซึ่งได้ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบๆวันหมื่นสาร ผสมกับชื่อเจ้าขันแก้ววัวลายนั้นเอง โดยชาวบ้านจะประกอบอาชีพด้านการทำเครื่องเงินเป็นหลัก
ปัจจุบันจึงกลายเป็นชุมชนบ้านวัวลาย ตั้งอยู่บนถนนวัวลายตำลบหายยา อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ปะกอบอาชะหลัก คือ การทำเครื่องเงินเลี้ยงชีพ และช่างเงินประจำคุ้มหลวงสืบทอดตามบรรพบุรุษในการทำเครื่องเงินต่อกันหลายช่วงอายุคนจนถึงปัจจุบัน

อนึ่งในการทำเครื่องเงินช่างเงินจะเป็นผู้ขึ้นรูป เป็นรูปทรงเกลี้ยงๆไม่มีลวดลายถ้าต้องการจะทำลวดลายจะส่งต่อให้ช่างต้องลายทำการสลักเสลาลวดลายให้มีความสวยงามวิจิตรบนรูปทรงนั้นๆเช่นเดียวกันกับการทำเครื่องโลหะชนิดอื่นๆ




ความสำคัญและคุณค่าของการต้องลาย
วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาคือการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมและการตกแต่งวิหาร โบสถ์ เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นทางด้านศิลปกรรมและจิตกรรมของภูมิปัญญาล้านนาที่สืบทอดกันมาจากอดีตอันยาวนานกว่า 700ปี นับตั้งแต่การตั้งเมืองเชียงใหม่
ชุมชนชาวบ้านวัวลายมีชื่อเสียงในการสืบทอดภูมิปัญญาล้านนาด้านการทำเครื่องเงินและจิตกรรมฝาผนังด้านการต้องลายด้วยแผ่นอลูมิเนียม เงิน และทองแดง
การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทำเครื่องเงินและการ้องลายลงบนแผ่นโลหะมักทำผ่านศิลปินผู้สืบทอดแบบดั้งเดิมสู่ลูกหลานในระบบเครือญาติของแต่ละครอบครัวซึ่งมีการฝึกฝนแบบตัวต่อตัวที่บ้านของศิลปินซึ่งในระยะเวลา 2-3 ปี เป็นอย่างน้อย
ความตื่นตัวของตลาดและนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การต้องลายที่ทำจากแผ่นอลูมิเนียมซึ่งมีราคาถูกและใช้ประดับตกแต่งเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้สอยประจำวัน ประดับห้องประดับผนังบ้าน และประดับตามโรงแรมสถานที่ราชการเริ่มมีความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์ต้องลายที่หลากหลายรูปแบบของผลิตภัณฑ์และหลากหลายลวดลายและหลากหลายประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
ได้มีการนำกระบวนการเรียนและการฝึกทักษะด้วยชุดวิชาและสื่อประสมเสริมการฝึกทักษะแบบตัวต่อตัวและกับระบบกลุ่มผู้เรียน ควบคู่การสอนของผู้สอนซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านการต้องลายจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่เอื้อให้ผู้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและสามารถขอคำปรึกษา ประเมินความก้าวหน้าของตนเองร่วมกับผู้สอนได้ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังเอื้อให้ผู้เรียนได้นำชุดวิชาและทักษะที่ได้ไปฝึกหาความชำนาญ ผลิตชิ้นงานเพื่อเป็นอาชะอิสระของตนได้เมื่อจบหลักสูตร
ปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวหันมาฝึกการต้องลายเป็นอาชีพเพื่อหารายได้ที่มั่นคงให้กับตนเองโดยเป็นอาชีพอิสระ และสามารถอยู่กับครอบครัว

ความหมายของการต้องลาย
การต้องลาย หรือ การต๋งลาย ในภาษาเหนือ หมายถึง การตอกลายบนแผ่นโลหะที่ถูกตีเป็นแผ่นบางเรียบ ด้านใต้ของแผ่นโลหถูกรองรับด้วยชันผสมน้ำมันหมูโดยชันจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดแผ่นโลหะเอาไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตอกลายตามแบบที่ต้องการ

ประโยชน์ของการต้องลาย
ประโยชน์ของการต้องลายและการใช้ผลิตภัณฑ์ต้องลาย มีดังนี้
ในอดีต
1.ใช้ประดับตกแต่งโบสถ์ เจดีย์ สถูป วิหาร และฝังผนังวิหาร
2.ใช้ประดับตกแต่งร่างกาย เพื่อแสดงสถานะความมั่นคงของตน เช่น แหวน สร้อย ตุ้มหู เข็มขัดเงิน
3.ใช้เป็นภาชนะใส่อาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัดเช่น พาน ถาด ขัน ปิ่นโต
ปัจจุบัน
ประโยชน์ของการต้องลายได้ขยายเข้าสู่การผลิตสินค้าเครื่องเงินและเครื่องอลูมิเนียมโดยทำเป็นเครื่องประดับ ของชำร่วยในชีวิตประจำวันของชาวเมืองเพิ่มมากขึ้นตลอดจนได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมตอบสนองประโยชน์การใช้สอยในโลกปัจจุบันและกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ ดังนี้                                                                                                                                
1. เครื่องประดับฝาผนังบ้าน  เป็นรูปหัวช้างอลูมิเนียม รูปรามเกียรติ์เป็นต้น
2. เครื่องตกแต่งอุปกรณ์ของชำร่อยต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น พวงกุญแจ ที่คั่นหนังสือ กรอบรูปภาพ  กล่องใส่นามบัตร  พวงระย้าแขวนห้อยเพดาน
3.เครื่องประดับตกแต่งอาคารและผนังอาคารตามโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ราชการ ตลอดจนเป็นป้ายโลหะบอกข้อความตามฝาผนังตามซอย
4.   เครื่องเรือนใช้สอยที่ผสมระหว่างการแกะสลักด้วยไม้กับการต้องลายบนแผ่นอลูมิเนียม ซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญา2-3สาขาผสมผสานกัน


วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดุนลาย


1.แผ่นอลูมิเนียม
          เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งทดแทนของเครื่องเงิน ซึ่งสมัยก่อนคนโปราณมักใช้เครื่องเงินในการดูนลาย แต่ในสมัยปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมาใช้ อลูมิเนียมแทนเพราะเครื่องเงินสมัยนี้ซึ่งมีราคาแพงมาก แผ่นอลูมิเนียมเอาไว้สำหรับการดูนลวดลายลง





2.   กระดาษลอกลาย
          เป็นกระดาษสำหรับวาดลวดลายหรือรูปที่เราต้องการลงไปเพื่อที่จะเอาไปติดกับแผ่นอลูมิเนียมแล้วทำการดูนลายตามที่เราต้องการ





3. ปากกา
          เป็นปากกาธรรมดาเอาไว้ใช้สำหรับการวาดรวดลายต่างๆที่เราอยากได้เพื่อจะนำเอารูปวาดนั้นๆไปทำการดูนลาย






4.  แท่งเหล็กสำหรับดุนลาย
          เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้ในการดูนลายซึ่งแท่งเหล็กตัวนี้ใช้สำหรับการดูนลายเท่านั้นซึ่งมีลักษณะเฉพาะแบ่งตามการใช้งานมีหลายขนาดด้วยกัน




5. ค้อน
          เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตีแท่งเหล็กสำหรับดุนลายเพื่อให้เกิดเป็นรอยตามรูปที่เราติดไว้






6.  แผ่นไม้หรือเขียงไม้
          เอาไว้สำหรับตีแผ่นอลูมิเนียมให้ยึดติดกับแผ่นไม้ เพราะในเวลาการดุนลายเราจะต้องให้แผ่นอลูมิเนียมนั้นอยู่กับที่หรือนิ่งที่สุด




7.  ตะปู
          เอาไว้สำหรับยึดแผ่นอลูมิเนียมให้ยึดติดกับแผ่นไม้ตะปูที่ใช้ก็ต้องแล้วแต่งานถ้างานเล็กก็จะใช้ ตะปูเบอร์ 2 ถ้างานใหญ่ก็ใช้ตะปูที่ใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม








8. คีมจับชิ้นงาน
          คีมจับชิ้นงานนี้เป็นคีมธรรดาทั่วไปเพราะเราจะใช้แค่เวลาดึ่งแม่แบบออกเท่านั้น (แผ่นอลูมิเนียมที่ตอกด้วยตะปู






9. กีวี  (ยาขัดรองเท้าสีดำ)
          กวี นั้นเราจะใช้สำหรับทาแม่แบบที่ผ่านการดูนลายเสร็จแล้วเพื่อให้แม่แบบนั้นดูสวยงาม






10. ฝอยสแตนเลส

              ฝอยสแตนเลสนี้ใช้สำหรับขัดแม่แบบที่เราทาด้วย กวี เรียบร้อยแล้วเพื่อให้เกิดความเงา ฝอยสแตนเลสนี้เป็นฝอยสแตนเลสทั่วไป

รูปแบบการผลิต
ลวดลาย
ลวดลายบนเครื่องเงิน เครื่องถมไทย ที่เป็นลายประจำชาติส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายภาคกลางลวดลายต่างๆล้วนมีที่มาบางลายก็คล้ายคลึงกับลายของอิหร่าน อินเดีย และจีน ได้แก่ลายที่มาจากธรรมชาติบางชนิดเช่น ลายดาวกระจาย ลายบัวคว่ำบัวหงายและบางลายก็มาจากวัฒนธรรมความเชื่อของฮินดูแต่กระนั้นก็ยังมีลายไทยทั่วไปที่มีลักษณะเฉพาะหาดูที่ไหนไม่ได้นอกจากในประเทศไทย ลวดลายต่างๆ บนเครื่องเงินและโลหะอื่นๆ พอจะแบ่งกว้างๆได้หลายประเภท ดังนี้
รูปธรรมชาติและรูปเหมือนจริงต่างๆ  เช่นทิวทัศน์ทั่วไป สัตว์ ต้นไม้ สถานที่สำคัญ เช่นพระปรางค์วัดอรุณ พระเจดีย์กลางน้ำ รูปจากประวัติศาสตร์ เช่น  พระนเรศวรชนช้าง ลายสถานที่เหล่านี้มีมาไม่นานเท่าไหร่นัก
รูปเทพเจ้า มาจากความเชื่อโบราณแบบฮินดู เช่นพระวิษณุกรรม พระสุรัสวดี เทพบุตร เทพธิดาทั่วไป
รูปสัตว์จากป่าหิมพานต์และจากเทพนิยาย  ได้แก่ ราชสิงห์ คชสิงห์ หงส์  ครุฑ  นาค กินนร กินรี ลายพวกนี้มีมาแต่โบราณ
รูปสัตว์12ราศี มีที่มาความเชื่อแบบจีน มีมาแต่โบราณและทำกันทั่วไปในภูมิภาคแถบนี้
ลายไทย เป็นไปไม่ได้เลยที่จะกล่าวถึงลักษณะลายไทยทั้งหมดแต่อาจกล่าวถึงลายเด่นๆเฉพาะบนเครื่องเงินเท่านั้นคือ
ลายกนก เฉพาะกนกอย่างเดียวก็แทบนับจำนวนไม่ได้แต่เดิมคำว่า กนก เป็นชื่อตู้ลายรดน้ำของอินเดียเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว ต่อมาคำว่า กนก กลายเป็นลักษณะลายอย่างที่รู้จักกันทั่วไปกนกมีหลายลักษณะ อ้วน ผอม หรือพลิ้วไหวต่างกัน หรือมีหัวหางต่างกันก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น กนกใบเทศ(กนกผสมใบเทศ)กนกเปลว (ปลายเหมือนเปลวไฟ) กนกผักกูด กนกลายนาค กนกหางโต เป็นต้น
-                   ลายดอก ที่นิยมคือ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกจอก ดอกพุดตาน
-                   ลายใบเทศ ดอกชัยพฤกษ์ ลายดอกไม้ร่วง
-                   ลายพุ่ม เช่น พุ่มข้าวบิณฑ์ เทพพนม
-                   ลายช่อ เช่น ช่อนกสามตัว ช่อเปลวลายก้านขด เป็นการนำลายหลายอย่างมาต่อกันโดยมีลายเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ มีหลายชนิด
-                   ลายเปลว ลายเครือเถา เป็นลายที่เลื้อยอย่างอิสระ ภายในรูป ของสิ่งที่ทำ มีทั้งเครือเถาชั้นเดียว เครือเถาไขว้
-                  ลายขอบและลายเชิง มักจะใช้ในพื้นที่แคบๆ หรือตกแต่งตามขอบ ทั้งแนวตั้งแนวนอน เช่น ลายหน้ากระดาษ ลายเกลียว ลายกรวยเชิง ลายก้านต่อดอก ลายเฟือง
-                   ลายบัว ใช้ทำตามส่วนโค้งของภาชนะ เช่น เชิงพาน
-                   ฐานประกอบลาย ใช้เป็นลายฐานต่างๆ เช่นเดียวกับลายบัว ยังมีลายไทยอื่นๆ แต่ไม่ค่อยเห็นในเครื่องเงินมากนัก เช่น ลายผนังแบบต่างๆ ลายกระจังในกรอบสี่เหลี่ยม ฯลฯ
        ในภาชนะชิ้นใหญ่ลายต่างๆ เหล่านี้จะไม่อยู่โดดเดี่ยว แต่จะผสมผสานลายต่างๆเข้าด้วยกันให้เต็มพื้นที่สุดแท้แต่จินตนาการของช่างแต่ละคน ลายที่วิจิตรพิสดารที่สุดจะเป็นลายที่ประกอบด้วยรูปแบบที่หลากหลายมากที่สุดที่จะมากได้ และก็แน่นอนจะหาดูไม่ค่อยได้

ความเป็นมาและพัฒนาการของลวดลาย
ตามที่กล่าวมาแล้วว่าลักษณะเด่นของการต้องลายบ้านวัวลายจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่วิธีการแกะลายทั้งสองด้านภาคอื่นๆ มักจะแกะลายเฉพาะด้านนอกด้านเดียว ช่างตอกลายจากด้านในให้นูนตามโครงสร้างรอบนอกของลายก่อนแล้วตีกลับจากด้านนอกเพื่อทำรายละเอียดอีกที่หนึ่ง โดยทั่วไปลวดลายของเชียงใหม่จะไม่ลึกมากเท่ากับลวดลายของพม่าแต่ก็ลึกกว่าของภาคกลาง สมัยโบราณการทำภาชนะที่เป็นของใช้จะเป็นแบบเรียบๆต่อมาจึงได้มีการทำ ลวดลายใส่เช่น ลายชาดก ลายดอกกระถิน ลายดอกทานตะวันลายสับปะรดลายนกยูง ลายดอกหมาก บางคน เรียกลายแส้ ลายฝักข้าวโพด และลายสิบสองนักษัตรซึ่งลายสิบสองนักษัตรของเชียงใหม่โบราณรุ่น 100ปีมาแล้วต่างจากภาคอื่นๆ คือปีกุนเป็นรูปช้าง ไม่ใช่รูปหมู
ภาชนะที่เป็นขันเงินหรือสลุงเงิน เป็นภาชนะสำหรับใช้งาน โดยทั่ว ๆ ไปก็มักจะใช้เรียกขันเงินที่มีการประดับตกแต่งด้วยการเคาะดุน ตี
ขันเงินหรือสลุงเงินมักมีลวดลายหลายอย่างผสมผสานกัน เช่น ลายนักษัตรจะมีรูปสัตว์อยู่ในกรอบรูปร่างต่างๆกัน เช่น กรอบรูปลิงหลายๆตัวต่อๆกัน กรอบรูปหนึ่งเรียกว่า โขนหนึ่ง” การล้อมกรอบลายบนพื้นที่ต่างๆก็คล้ายกับภาคกลาง แบ่งลายด้วยกรอบ 4 กรอบ มีพื้นลายเป็นกนกบ้าง ดอกพุดตานบ้าง ลายเชียงใหม่ นอกจากจะอยู่ในกรอบรูปต่างๆแล้วยังอาจจะอยู่ในแวดล้อมของดอกกระถิน ดอกทานตะวัน และดอกสับปะรด
ลวดลายต่างๆที่สลักบนขันเงินหรือสลุงเงินของบ้านวัวลายจะมีตั้งแต่ลายดั้งเดิมคือเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านวัวลาย และลวดลายใหม่คือเริ่มจากปี พ.ศ.2500 
ขั้นตอนการดุนลายแผ่นโลหะ

1.  นำแบบที่จะใช้ดุนลาย กระดาษลอกลาย กระดาษใสวางเรียงซ้อนกัน

          2. เอาปากกากดลายตามแบบจนครบทุกส่วน


3. นำปากกาชนิดเขียนถาวรเน้นเส้นลงกระดาษไขเพื่อให้เส้นมีความคมชัด

4.นำกระดาษไขที่ลอกลายเสร็จแล้วทาบลงแผ่นโลหะ

5. ตอกตะปูบนแผ่นอลูมิเนียมไห้เข้ากับแผ่นไม้หรือเขียงไม้เพื่อไม่ให้แบบดิ้นง่ายต่อการดุนลาย

6.เริ่มการดุนลายโลยการดุนเหล็กลงบนแผ่นโลหะโดยดุนจากลายนอกเส้นเข้าไปยังในเส้น

7.เมื่อเราทำการดุนลายเสร็จแล้วก็จะเป็นขั้นตอนของการแกะกระดาษออกจากแผ่นโลหะ



8.การย้ำลายจากการดุนเบื้งต้นเพื่อให้เกิดลายคมชัด


9.การดุนขอบเพื่อให้ขอบของลายเป็นแบบเรียบ



10.การแกะแบบ หลังจากเราทำการดุนลายเสร็จแล้วเราก็จะทำการแกะแบบออกจากแผ่นไม้


11.การตัดแบบ เมื่อเราถอดแบบเสร็จแล้วนำแบบนั้นไปตัดเพื่อให้ได้สัดส่วนที่เข้ากับแม่แบบ


12.การทาดำ เราจะใช้กวีทาเพื่อให้แม่แบบกลยเป็นสีดำเพื่อนำไปในขั้นตอนต่อไป


13.จากที่ทาด้วย กวีแล้วเราก็ใช้เศษผ้าธรรมดาเช็ดออกหรือจะใช้ฝอยสแตนเลสก็ได้



14.จากนั้นก้จะเป็นการเจาะบนหัวของแม่แบบเพื่อจะนำไปทำเป็นพวงกุญแจ


15. ขั้นตอนสุดท้ายนำแม่แบบมาใส่ซองเพื่อนำไปใช้ประโยน์ต่อไป      







วิดีโอขั้นตอนการดุนลายแผ่นโลหะ










ประวัติผู้เชี่ยวชาญการดุนลายแผ่นโลหะ

ชื่อ นายวัฒนา              นามสกุล เรือนศรี         อายุ  28 ปี
เกิด วันที่ 25 มีนาคม 2528       อาชีพ  รับจ้าง
ปัจจุบัน ทำงาน วัดปันเสา ถ.บุญเรืองฤทธิ์  ต.สุเทพ  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่ 50200
เบอร์โทรศัพท์ 086-1880528
ภูมิลำเนาเดิม  บ้านป่าซาง  ต.ป่าซาง  อ.แม่จัน  จ.เชียงราย  57110
การศึกษา        
       -       ประถมศึกษาจบจากโรงเรียนบ้านป่าซาง
       -        มัธยมศึกษาตอนต้นจบจากโรงเรียนวัดแม่คำ
       -        มัธยมศึกษาตอนปลายจบจากโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มจร. วิทยาเขตเชียงใหม่
       -        ปริญญาตรีจบจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ เอกการเมืองการปกครอง
                       





ผู้จัดทำ

               1. นายเอนก                        กัญจะลา                              รหัส 56122434  (หัวหน้ากลุ่ม)
               2. นายเศรษฐวัฒน์              จุ่มนะ                                   รหัส 56122433
               3. นายอภิสิทธิ์                    กันธิยะ                                 รหัส 56122426
               4. นายขุนเขา                      เวทย์รัตน์ทวี                        รหัส 56122423
               5.นางสาวลัดดาวรรณ์         เขตประการไทย                  รหัส 56122415
               6. นายธราเทพ                    อย่างอิ่น                              รหัส 56122427
               7. นายชนกานต์                  กันแจ่ม                                 รหัส 56122431
               8. นางสาวนาฤตญา            อุ่นเรือน                               รหัส 56122411
               9. นายชาคริต                     ใจมั่น                                    รหัส 56122432
               10. นายวุฒคุณ                   ใจบุญ                                   รหัส 56122422

นักศึกษาสาขาสารสนเทศศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่