การดุนลาย
ประวัติความเป็นมาของการดุนลาย
การดุนลายเป็นงานสร้างสรรค์เชิงช่างหัตถศิลป์ที่บรรจงสร้างลวดลายบนแผ่นโลหะและชิ้นงานและรูปทรงต่างๆ อย่างมีความประณีตสวยงามตั้งแต่สมัยพญามังรายเมื่อปีพ.ศ.1839 ได้สร้างความสัมพันธ์กับพุกามและเจรจาขอช่างฝีมืออันได้แก่ช่างทอง ช่างฆ้อง ช่างต้อง ช่างแต้ม ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างเขิน เป็นต้น มายังเมืองเชียงใหม่เพื่อฝึกเป็นอาชีพเสริมให้กับชาวเมือง ดังปรากฏหลักฐานจาก
ชาวบ้านภาคเหนือนิยมเรียกผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งว่าสล่า หรือช่าง “ตำนานราชวงศาเชียงใหม่” ความว่า “...ดังเจ้าอังวะพุกามนั้นก็เสงป่อง(ปรึกษาหารือ) โฟจา (เจรจา)กันและกัน เสงป่องกันแล้วยังช่างหล่อ ช่างตี ช่างฆ้องผู้ทรงสราด (ฉลาด) ทั้งหลายนาก็เลือกเองผู้อันช่างหล่อ ช่างตีตังหลายช่างตีฆ้อง 2 หัวทั้งลูกสิกลูกน้องทั้งมวล500ทั้งเครื่องพร้อมจักยืนถวายท้าวล้านนา…”
วันอาทิตย์ขึ้น 3 ค่ำเดือน 6 เหนือ พุทธศักราชปีมะโรงพระเจ้ากะวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ยกทัพมาจากเวียงป่าซางเข้ามาตั้งเมืองเชียงใหม่ซึ่งในขณะนั้นผู้คนในเมืองเชียงใหม่มีน้อยมาก เพราะถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นเฉลยบ้าง หนีไปสงครามไปซ่อนตัวอยู่ในป่าดงบ้าง พระเจ้ากาวิละจึงเริ่มปรับปรุงบ้านเมืองและวัดวาอารามที่รกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมากโดยใช้นโยบาย “เก็บผักใส่ผ้า เก็บข้าใส่เมือง” ให้เจ้านายราชกุลลื้อ เมืองเขิน เชียงตุง เมืองยองมาตั้งแต่รกรากในเมืองเชียงใหม่และเมืองลำพูนซึ่งยังปรากฏชื่อเมืองในปัจจุบันนี้คือเมืองเล็นเมืองวะ เมืองขอน เมืองพยาก เมืองโก อยู่ในท้องที่อำเภอสันทรายเมืองลวงอยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด เมืองออน เมืองหลวย ในท้องที่อำเภอสันกำแพง เชียงแสน เชียงขาง ในอำเภอสารภี ทุ่งอ้อ ตองกาย อยู่ในอำเภอหางดง เมืองสด เมืองกาย เมืองมาง เมืองลัง เขินเงี้ยว วันลาย สะต๋อย อยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ส่วนชาวยองอยู่ในท้องที่จังหวัดลำพูน
ต่อมาในสมัยพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกาเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ชาวบ้านบ้านวัวลายแขวงเมืองปั่นได้ถูกกวาดต้อนมาอีกครั้งหนึ่ง ดังความปรากฏในพงศาวดารโยนและตำนานราชวงศ์ปกรณ์ในเชียงใหม่ กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ. 2361ปีขาล เจ้าช้างเผือกธรรมลังกาแต่งเจ้าสุวรรณคำมูล เป็นหลานคุมทหารจำนวน 1,000 ยกทัพไปตีพม่าตั้งทัพอยู่ปากน้ำแม่ปุ พม่าได้ถอยหนีไป เจ้าสุวรรณคำมูลและเจ้าแก้วเมืองมายกกองทัพข้ามฟากแม่น้ำคงคาไปฝั่งตะวันตกเข้าตีบ้านตองกาย บ้านวัวลาย แขวงเมืองปั่นกวาดต้อนครัวเชลยมาทางฝั่งตะวันออกข้ามแม่น้ำคงที่ท่าผาแดง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านท่าผาแดง จังหวัดตาก
เมื่อปี พ.ศ.2442 ปีมะแม เจ้าคำมูลเป็นแม่ทัพคุมทหารจำนวน 300 คน ข้ามแม่น้ำคงไปฟากตะวันตก เข้าตีเอาบ้านวัวลาย สะต๋อย สรอยไร๋ บ้านนาหย่าง ทุ้งอ้อ ได้หมื่นสาร วัวลายและเมียฟ้าคำเครื่อง กวาดเอาครอบครัวลูกบ้านชาวไพร่ลงใส่บ้านเมืองดังดั้งเมื่อชาววัวลายอพยพมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ ได้ตั้งฐานบ้านเมืองรอบๆวันหมื่นสาร โดยมี ‘‘เจ้าขันแก้ววัวลาย’’ เป็นผู้นำชาวบ้านวัวลายเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวบ้าน เป็นผุ้นำที่ดี มีคุณภาพ อีกทั้งยังมีวิชาในการตีกลองสบัดชัย การปั้นคนโท (น้ำต้น) และเจ้าขันแก้ววัวลาย ก็ได้ส่งชาวบ้านวัวรายไปเรียนรู้วิธีการตี (ต้อง) ขันเงินและการแกะสลักลวดลายต่างๆบนขันเงินในคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ต่อมาเจ้าขันแก้ววัวลายจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า ‘‘บ้านหมื่นสารวัวลาย’’ อันเนื่องมาจากชาวบ้านวัวลายซึ่งได้ตั้งบ้านเรือนอยู่รอบๆวันหมื่นสาร ผสมกับชื่อเจ้าขันแก้ววัวลายนั้นเอง โดยชาวบ้านจะประกอบอาชีพด้านการทำเครื่องเงินเป็นหลัก
ปัจจุบันจึงกลายเป็นชุมชนบ้านวัวลาย ตั้งอยู่บนถนนวัวลายตำลบหายยา อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ปะกอบอาชะหลัก คือ การทำเครื่องเงินเลี้ยงชีพ และช่างเงินประจำคุ้มหลวงสืบทอดตามบรรพบุรุษในการทำเครื่องเงินต่อกันหลายช่วงอายุคนจนถึงปัจจุบัน
อนึ่งในการทำเครื่องเงินช่างเงินจะเป็นผู้ขึ้นรูป เป็นรูปทรงเกลี้ยงๆไม่มีลวดลายถ้าต้องการจะทำลวดลายจะส่งต่อให้ช่างต้องลายทำการสลักเสลาลวดลายให้มีความสวยงามวิจิตรบนรูปทรงนั้นๆเช่นเดียวกันกับการทำเครื่องโลหะชนิดอื่นๆ
ความสำคัญและคุณค่าของการต้องลาย
วัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาคือการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมและการตกแต่งวิหาร โบสถ์ เจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นทางด้านศิลปกรรมและจิตกรรมของภูมิปัญญาล้านนาที่สืบทอดกันมาจากอดีตอันยาวนานกว่า 700ปี นับตั้งแต่การตั้งเมืองเชียงใหม่
ชุมชนชาวบ้านวัวลายมีชื่อเสียงในการสืบทอดภูมิปัญญาล้านนาด้านการทำเครื่องเงินและจิตกรรมฝาผนังด้านการต้องลายด้วยแผ่นอลูมิเนียม เงิน และทองแดง
การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทำเครื่องเงินและการ้องลายลงบนแผ่นโลหะมักทำผ่านศิลปินผู้สืบทอดแบบดั้งเดิมสู่ลูกหลานในระบบเครือญาติของแต่ละครอบครัวซึ่งมีการฝึกฝนแบบตัวต่อตัวที่บ้านของศิลปินซึ่งในระยะเวลา 2-3 ปี เป็นอย่างน้อย
ความตื่นตัวของตลาดและนักท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์การต้องลายที่ทำจากแผ่นอลูมิเนียมซึ่งมีราคาถูกและใช้ประดับตกแต่งเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้สอยประจำวัน ประดับห้องประดับผนังบ้าน และประดับตามโรงแรมสถานที่ราชการเริ่มมีความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์ต้องลายที่หลากหลายรูปแบบของผลิตภัณฑ์และหลากหลายลวดลายและหลากหลายประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
ได้มีการนำกระบวนการเรียนและการฝึกทักษะด้วยชุดวิชาและสื่อประสมเสริมการฝึกทักษะแบบตัวต่อตัวและกับระบบกลุ่มผู้เรียน ควบคู่การสอนของผู้สอนซึ่งเป็นผู้เชียวชาญด้านการต้องลายจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่เอื้อให้ผู้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและสามารถขอคำปรึกษา ประเมินความก้าวหน้าของตนเองร่วมกับผู้สอนได้ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังเอื้อให้ผู้เรียนได้นำชุดวิชาและทักษะที่ได้ไปฝึกหาความชำนาญ ผลิตชิ้นงานเพื่อเป็นอาชะอิสระของตนได้เมื่อจบหลักสูตร
ปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวหันมาฝึกการต้องลายเป็นอาชีพเพื่อหารายได้ที่มั่นคงให้กับตนเองโดยเป็นอาชีพอิสระ และสามารถอยู่กับครอบครัว
ความหมายของการต้องลาย
การต้องลาย หรือ การต๋งลาย ในภาษาเหนือ หมายถึง การตอกลายบนแผ่นโลหะที่ถูกตีเป็นแผ่นบางเรียบ ด้านใต้ของแผ่นโลหะถูกรองรับด้วยชันผสมน้ำมันหมูโดยชันจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดแผ่นโลหะเอาไว้เพื่อให้ง่ายต่อการตอกลายตามแบบที่ต้องการ
ประโยชน์ของการต้องลาย
ประโยชน์ของการต้องลายและการใช้ผลิตภัณฑ์ต้องลาย มีดังนี้
ในอดีต
1.ใช้ประดับตกแต่งโบสถ์ เจดีย์ สถูป วิหาร และฝังผนังวิหาร
2.ใช้ประดับตกแต่งร่างกาย เพื่อแสดงสถานะความมั่นคงของตน เช่น แหวน สร้อย ตุ้มหู เข็มขัดเงิน
3.ใช้เป็นภาชนะใส่อาหารไปทำบุญตักบาตรที่วัดเช่น พาน ถาด ขัน ปิ่นโต
ปัจจุบัน
ประโยชน์ของการต้องลายได้ขยายเข้าสู่การผลิตสินค้าเครื่องเงินและเครื่องอลูมิเนียมโดยทำเป็นเครื่องประดับ ของชำร่วยในชีวิตประจำวันของชาวเมืองเพิ่มมากขึ้นตลอดจนได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมตอบสนองประโยชน์การใช้สอยในโลกปัจจุบันและกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างประเทศ ดังนี้
1. เครื่องประดับฝาผนังบ้าน เป็นรูปหัวช้างอลูมิเนียม รูปรามเกียรติ์เป็นต้น
2. เครื่องตกแต่งอุปกรณ์ของชำร่อยต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น พวงกุญแจ ที่คั่นหนังสือ กรอบรูปภาพ กล่องใส่นามบัตร พวงระย้าแขวนห้อยเพดาน
3.เครื่องประดับตกแต่งอาคารและผนังอาคารตามโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่ราชการ ตลอดจนเป็นป้ายโลหะบอกข้อความตามฝาผนังตามซอย
4. เครื่องเรือนใช้สอยที่ผสมระหว่างการแกะสลักด้วยไม้กับการต้องลายบนแผ่นอลูมิเนียม ซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญา2-3สาขาผสมผสานกัน